ความต้องการจำเป็นสำหรับการส่งเสริมซอฟต์สกิลของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Keywords:
ความต้องการจำเป็น, ซอฟต์สกิล, การเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษAbstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมซอฟต์สกิลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงบรรยาย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 โรงเรียน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) และผู้ปกครองผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสิ้นจำนวน 820 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับซอฟต์สกิลของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมของสภาพปัจจุบันของผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะภาวะผู้นำ รองลงมา ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสื่อสาร ตามลำดับ และภาพรวมของสภาพที่พึงประสงค์ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ รองลงมา ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะภาวะผู้นำ ตามลำดับ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมซอฟต์สกิลของผู้เรียน มีค่าดัชนีในภาพรวมเท่ากับ 0.33 ด้านที่มีค่าดัชนีมากที่สุด คือ ทักษะการสื่อสารรองลงมา คือ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะภาวะผู้นำ ตามลำดับ
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2561). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ณิชยาดา ภูชิตานุรักษ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Soft Skills to Master. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิวภรณ์ สองแสน สมบัติ คชสิทธิ์ บุญเชิด ภิญโญ อนันตพงษ์ และฐิติพร พิชยกุล. (2557). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยโดยรูปแบบ MAPLE. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(3),110-129
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Azwar, A. (2019). Integrating the English Language Teaching and Learning Process with Soft Skills. International Conference on Education and Language 2013, UBL, Indonesia, 365-371.
Han, L. (2014). Soft Skills Definition: What are soft skills?. Retrieved 6 January 2024 from http://bemycareercoach.com/soft-skills/what-are-soft-skills.
Rao, S. P. (2019). The Importance of Speaking Skills in English Classrooms. Alford Council of International English & Literature Journal, 2. 6-18.
Richards, J. C. (2006). Communicative Language Teaching Today. Cambridge: Cambridge University Press.
Schneider, C. G. (2015). The LEAP Challenge: Transforming for Students, Essential for Liberal Education. Liberal Education, 101(1/2).
Wood, S. E. & Wood, E.G. (2000). The essential world of psychology (3rd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.