ระบบการสอนออนไลน์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษาของนิสิตครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Keywords:
ระบบการสอนออนไลน์, นวัตกรรม, นิสิตครุศาสตร์Abstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสอนออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นรูปแบบผสมวิธีวิจัยแบบพัฒนา (R&D) โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 24 รูป/คน การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูป/คน เพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาเป็นระแบบ และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์/การใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
2. วิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสอนออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า 2.1) ด้านสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ การวางแผนระแบบการสอน เช่น สร้างสื่อในการผสมผสานการเรียนการสอนออนไลน์ให้นิสิตไม่รู้สึกเบื่อหน่าย การเรียนรู้แบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ เป็นการเรียนที่มีความมีความยึดหยุ่นสูง เพราะฉะนั้นผู้เรียนจำต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนมากกว่าปกติ 2.2) ด้านปัญหา อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ การเรียนออนไลน์ทุกบ้านที่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์ เรียนท่ามกลางเสียงรบกวน นิสิตทุกคนไม่ได้มีอุปกรณ์สื่อสารเป็นของตัวเองบางครอบครัวที่มีบุตรหลานหลายคน อาจจะต้องแบ่งกันใช้ 2.3) ด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ ให้นิสิตได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกระตุ้นนิสิตสม่ำเสมอด้วยวิธีสอนตามแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การใช้บทเรียนไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
3. สร้างและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า 3.1) ระดับความคิดเห็นความพึงพอใจต่อระบบการสอนออนไลน์โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมการสอนสังคมศึกษาของนิสิตครุศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงราชวิทยาลัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ด้านปัจจัยเกื้อหนุน อยู่ในระดับปานกลาง 3.2) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 14.50 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.18 และผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนมีค่าเฉลี่ย 18.21 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.06 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. ประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า การประเมินประเมินประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์อยู่ในระดับมาก
References
กรมการฝึกหัดครู. (2529). กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กานต์ณรงค์ สอนสกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระครูสมุห์ทิพย์ สิริธมฺโม (การเพียร). (2561). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติขจร. (2553). ผู้นำการบริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปัญญาชน.
เล็กฤทัย ขันทองชัย. (2560). การพัฒนารูปแบบระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการเรียนรู้ออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการสอน MIAPCED เพื่อส่งเสริมทักษะการสอนในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาฝึกสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช. (2560-2564). แผนพัฒนาวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก https://pl.mcu.ac.th/
วุฒินันท์ อบอุ่น. (2544). ความต้องการแก้ปัญหาการสอนที่เน้นเรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุบล พวงมาลา. (2552). การพัฒนากระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จากhttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/801.
Asunka S., (2008). “Online learning in higher education in Sub-Saharan Africa: Ghanaian University students' experiences and perceptions”, The International Review of Research in Open and Distance Learning.
Shu-Sheng Liaw, and Hsiu-Mei Huang, (2011). “A study of investigating learners’ attitudes toward e-learning”, 5th, International conference on Distance Learning Nd Education IPCSIT.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.