ประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566

Authors

  • Sani Chowprasith
  • Jidapa Thirasirikul Siam University

Keywords:

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, พรรคก้าวไกล

Abstract

             บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ กับประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ 2566 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ 2566 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T การทดสอบค่าความแปรปรวน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

           ผลการศึกษาพบว่า 1) อายุ อาชีพ และ รายได้ที่แตกต่างกันมีประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 2) ปัจจัยการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 3) พรรคการเมืองควรมีการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสมให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

References

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2557). การประมูลในกระบวนการเลือกตั้งกับการสร้างสถาบัน รัฐสภาไทยให้เข้มแข็ง. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 1(1), 57-74.

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2552). การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : TRDM Printing.

ปิยะพล พวงแก้ว และ จิดาภา ถิรศิริกุล. (2565). ประสิทธิผลของการสื่อสารทางการเมืองของกรุงเทพมหานครในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 11(2), 583-594.

วรลักษณ์ พุ่มพวง และ สมเกียรติ วันทะนะ. (2556). บทบาทหัวคะแนนกับการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 2(2), 146-159.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2524). ประชาธิปไตย : แนวความคิดและตัวแบบประเทศประชาธิปไตยในอุดมคติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกล สุขเสริมส่งชัย, ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร และจิดาภา ถิรศิริกุล. (2565). การจัดการปกครองในรัฐบาลดิจิทัลในประเทศไทย. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(4), 41-48.

สุรพล พรมกุล. (2558). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น. ธรรมทรรศน์. 15(3), 103-118.

อภิณทร์พร สองเมืองสุข และ กฤษณะ บุหลัน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 6(1), 86-92.

Downloads

Published

03-07-2024 — Updated on 03-07-2024

Versions

How to Cite

Sani Chowprasith, & Jidapa Thirasirikul. (2024). ประสิทธิผลการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัด พรรคก้าวไกล พ.ศ. 2566. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 10(1), 15–25. Retrieved from https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/198

Issue

Section

Research Articles: บทความวิจัย