การพัฒนาหลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • Woraluck Samerjai สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  • Parinyapast Seethong Lampang Rajabhat University

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตร, โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, รูปแบบการเรียนรู้ เอส เอส ซี เอส, เกมมิฟิเคชัน

Abstract

            บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ  2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน – หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเจริญศิลป์ จังหวัดแพร่ สำนักงานศึกษาธิการแพร่เขต 1  จำนวน 38 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่อง ทศนิยม และร้อยละ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. หลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 เรื่อง จุดนั้นสำคัญไฉน หน่วยที่ 2 เรื่อง โปรดี โค้ดส่งฟรี ร้านนี้เท่านั้น 5) การจัดการเรียนการสอน 6) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ 7) การวัดผลประเมินผล ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือหลักสูตรในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

          2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญาณัฐ ศศิวัจน์ไพสิฐ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการคิดคำนวณ เรื่องการคูณ การหาร จำนวนนับ โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ทีจีที ร่วมกับวิธีการสอนแบบนิรนัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต). ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ธันยพัฒน์ พันธุ์พำนัก. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นริศรา สำราญวงษ์. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ), ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา

เบจลักษณ์ ภูสามารถ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวริศร์ ศรีทะแก้ว. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเรียนเป็นคู่ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มารุต พัฒผล. (2562). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง ทักษะการโค้ชเพื่อครู. (หน้า 4) กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2552). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ประกาศและรายงานผลสอบ. เรียกใช้เมื่อ 16 มิถุนายน 2565 จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/ExamWeb/FrLogin.aspx.

Krulik, & Rudnick. (1987). Problem Solving and Stragetegy Games in The Mathematic Teacher. New York McGraw - Hill.

Pizzini, L. & S. P. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education. Science Education.

Polya, George. (1957). How to Solve It : A New Aspect of Mathematical Method. New York : Doubleday and Company.

Taba Hilda. (1962). Curriculum Development : Theory and Practice. New York : Harcourt Brace Jovanovich.

Tyler, R.W. (1971). Basic Principles of Curriculum and Instruction (31st ed.). Chicago: The University of Chicago Press.

Downloads

Published

23-07-2024

How to Cite

Woraluck Samerjai, & Parinyapast Seethong. (2024). การพัฒนาหลักสูตรการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เอส เอส ซี เอส ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 10(1), 96–110. Retrieved from https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/200

Issue

Section

Research Articles: บทความวิจัย