องค์ความรู้เรื่องจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Authors

  • Phrakhruwinitkamoldham
  • Phrabaidika Sakdithat Sangtong Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus

Keywords:

องค์ความรู้, จิตอาสา, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Abstract

              ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้ายหรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค เรียกว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ต้องการดูแลรักษาแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญาณ ดังนั้น เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างสบาย ปราศจากความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีความเชื่อว่า การตายดีหรือการตายอย่างสงบและมีสติเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงเป็นการดูแลที่อาศัยบุคคลที่มีจิตอาสาเป็นหลักในการช่วยเหลือบุคคลอื่นให้ได้รับความสุข มีหลักพรหมวิหารธรรม มีเมตตากรุณาต่อผู้ป่วย มีความเป็นกลาง มีความเป็นธรรม เพราะความต้องการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีความซับซ้อน และมีการพัฒนาจิตอาสาของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามหลักสังคหวัตถุธรรม ได้แก่ มีความเสียสละ มีความซื่อตรง มีความยุติธรรม ปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบุคคลที่ตนช่วยเหลือ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรรยา พรรณนา. (2559). จิตสาธารณะสร้างได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.

ณัทธนัท เลี่ยวไพโรจน์. (2551). สังคมดีมีสมานฉันท์ด้วยตัวเรา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

เต็มศักดิ พงรัศมี. (2542). Palliative Care การดูแลเพื่อบรรเทาอาการ วิถีแห่งการคลายทุกข์. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

ทีศนีย์ ทองประทีป. (2552). พยาบาล : เพื่อนร่วมทุกข์ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Nurse : Being With The Dying). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลลออ แสงสุข. (2552). จิตสำนึกสาธารณะในเยาวชน : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยะนาถ สรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนจิตอาสา ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม กรณีศึกษาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2539). ข้าราชการไทย ความสำนึกและอุดมการณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พระอนุลักษ์ ฐฃิตวฑฺฒโน. (2565). พุทธจริยธรรมที่ส่งเสริมจิตอาสาชุมชนวัดเทพสิทธิการาม (บ้านไร่) ตำบลสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วัชรา ไชยสาร. (255). จิตสาธารณะและสำนึกพลเมืองปฐมบทแห่งการเมืองภาคประชาชน. วารสารรัฐสภาสาร. 60(8), 14-16.

วิรัตน์ คำศรีจันทร์. (2554). ปฏิบัติการสังคม ผ่านวิธีสานพลังเครือข่ายผู้นำและสื่อมวลชน พลังความรู้จากการวิจัย. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

สันต์ หัตถีรัตน์. (2543). สิทธิ์ที่จะอยู่หรือตายและการดูแลผู้ป่วยที่หมดหวัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2556). คู่มือสำหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).

สุวคนธ์ กุรัตน์ และคณะ. (2556). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย : มิติใหม่ที่ท้าท้ายบทบาทของพยาบาล. มหาสารคาม : วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.

สุวภรณ์ แนวจำปา. (2554). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายใกล้ตายเชิงพุทธบูรณาการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อรพินทร์ ชูชม และคณะ. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับจิตสำนึกทางปัญญาและคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

Christopher Elliott-Binns. (1978). Medicine : The Forgotten Art?. London : Pitman Publishing Ltd.

Downloads

Published

01-08-2024

How to Cite

Phrakhruwinitkamoldham, & Sangtong , P. S. (2024). องค์ความรู้เรื่องจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 10(1), 218–232. Retrieved from https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/204

Issue

Section

Academic Article: บทความวิชาการ