แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย
Keywords:
Participatory administration, Educational network partnersAbstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย 2) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย และ3) ประเมินแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนชายขอบจังหวัดเลย จำนวน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากชม อำเภอด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว อำเภอเชียงคาน อำเภอภูเรือ และอำเภอท่าลี่ จำนวน 267 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเรียงลำดับค่าดัชนีความต้องจำเป็น
ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ในภาพรวม (PNImodified = 0.29) 2) ผลการศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย พบว่า มีทั้งหมด 4 ด้าน 16 แนวทาง ได้แก่ ด้านวิชาการ มี 4 แนวทาง ด้านงบประมาณ มี 4 แนวทาง ด้านการบริหารงานบุคคล มี 4 แนวทาง และด้านการบริหารทั่วไป มี 4 แนวทาง และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้และความถูกต้องของแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเลย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทร์ธิวา โสภา. (2560). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิราวรรณ เอียดชุม. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในอำเภอเคียนซา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จิรายุ พรหมจักร. (2559). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10(1), 58.
เฉลิมพล จันดา. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาญชัย ศาลาจันทร์. (2559). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครครีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ฟิกรี แก้วนวล. (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รวมกฎหมายเพื่อการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย).
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัครนัย ขวัญอยู่. (2558). แนวทางแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. รายงาน ที่ดีอาร์ไอ. (113), 3-16.
อัยรินทร์ ธนอริยมินทร์. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการหลักสูตรต่อเนื่องตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 608-609.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.