ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

Authors

  • Warakorn Udthamajai
  • Sathiraporn Chaowachai
  • Saifon Vibulrangson

Keywords:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันในวิชาชีพครู

Abstract

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2) ศึกษาความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและสังคม 2) ความผูกพันในวิชาชีพครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความผูกพันอันเนื่องมาจากความรู้สึก และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r=.665**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรองกาญจน์ เอกพิพัฒน์วงศ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดสตูล (รายงานการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ. (2551). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนและความผูกพันต่อวิชาชีพครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.

ดนุสรณ์ คุ้มสุข. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทศพร ทานะมัย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. (10)2, 152-160.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2561). ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผาสุกทางจิตใจและความยึดมั่น ผูกพันในวิชาชีพของข้าราชครู สังกัดโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 44(2), 211-248.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรวิไล สุขมาก. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพครู ของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มเทคโนโลยีพระจอมเกล้า. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (11)1, 33-47.

พิมลพรรณ แซ่เหลียว. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต), นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

มิ่งกมล ภิบาลวงษ์. (2561). ความตั้งใจลาออกของพยาบาลวิชาชีพในโรงเรียนพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารกองการพยาบาล. 45(2), 25-44.

ยุภา อรุณสวัสดิ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในโรงเรียนสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัชมงคล ค้ำชู. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกและอบรมและเยาวชนบ้านกรุณา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา เอกสารประกอบการสอนวิชา 354517 การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15(1), 158-168.

สมหญิง ลมูลพักตร์. (2558). ปัจจัยเชิงเหตุพหุระดับและผลของความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพการพยาบาลที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน และความตั้งใจออกจากวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรัศมิ์ รัมมณีย์. (2557). ยุทธศาสตร์การสร้างความผูกพันต่อวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 4(1), 112-124.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อุบลวรรณ สงกรานตานนท์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต), นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัญชลี วงษ์ขันธ์. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5, 440-449.

Aryee, S. & Tan, K. (1992). Antecedents and outcomes of career commitment. Journal of Vocational Behavior, 40, 291-305.

Downloads

Published

30-07-2024

How to Cite

Udthamajai, W., Chaowachai, S., & Vibulrangson, S. (2024). ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 . วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 10(1), 141–156. Retrieved from https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/218

Issue

Section

Research Articles: บทความวิจัย