การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่

Authors

  • Phramaha Sittichai Panyawai
  • Phrabaidika Sakdithat Sangtong
  • Raweerose Sricompa
  • Phra Rajakhemakorn

Keywords:

การพัฒนาและเพิ่มมูลค่า, ภูมิปัญญา, งานพุทธศิลป์

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการออกแบบและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่ และเพื่อถ่ายทอดและพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์รุ่นเยาว์ จังหวัดแพร่ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่และสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางภูมิปัญญาพุทธศิลป์ให้เกิดคุณค่าสู่มูลค่าทางภูมิปัญญาในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า

           1. การสร้างงานพุทธศิลป์ของจังหวัดแพร่ ล้วนเริ่มต้นมาจากความเชื่อและความศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมนำมาสู่การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์อันล้ำค่า และยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้จากช่างสล่าในแต่ละยุคสมัยผสมผสานกับความเชื่อด้านศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประเพณีและวัฒนธรรม นำไปสู่การสร้างสรรค์ การออกแบบ ประดิษฐ์เป็นลวดลายต่าง ๆ
บนธรรมาสน์ บุษบก ตุงกระด้าง และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ให้ได้สะท้อนถึงความเป็นอัตลักษณ์แต่ละบุคคลหรือแต่ละพื้นที่ ในการอาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

           2. รูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาทักษะของงานสล่าพุทธศิลป์ของช่างพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการเชิงระบบในการสังเคราะห์ ดังนั้น รูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดและการพัฒนาทักษะงานสล่าพุทธศิลป์ของช่างพุทธศิลป์ จังหวัดแพร่ ต้องอาศัยความสนใจของแต่ละบุคคลเป็นพื้นฐาน
เพื่อการผลิตชิ้นงานที่มีความประณีตมากยิ่งขั้น และทักษะด้านงานพุทธศิลป์ก็ต้องอาศัยความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญในการผลิต งานพุทธศิลป์เกิดขึ้นได้เพราะความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนของตนเอง และการสนับสนุนจากผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้นช่วยเสริมสร้างให้มีทักษะในการปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ

References

กัลยาณมิตร นรรัตน์พุทธิ. (2564). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานวัฒนธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 16(2), 55-73.

โกสุม สายใจ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการนิเทศภายในกับทักษะการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของวิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3(3), 130-142.

จาตุรันต์ จริยารัตนกูล และคณะ. (2563). การศึกษาอัตลักษณ์ของลวดลายประดับธรรมาสน์ กรณีวัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์. Journal of Modern Learning Development. 5(6), 275-285.

พระครูภัทรจิตตาภรณ์ และคณะ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมการอนุรักษ์พุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 5(2), 135-148.

พระปลัดพงศ์ศิริ พุทฺธิวํโส และคณะ. (2563). ชื่อปีนักษัตรที่ปรากฏในตุงล้านนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7(1), 78-94.

พระมหาสิทธิชัย ชยสิทฺธิ และคณะ. (2563). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการสร้างพระพุทธไม้แกะสลักล้านนาในสังคมร่วมสมัย. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

สหัทยา วิเศษ และคณะ. (2563). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา.รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ.

อานุภาพ จันทรัมพร. (2566). สัดส่วนความงามในศิลปกรรมไทยทรงบุษบก. วารสารวิชาการ DEC JOURNAL คณะมัณทนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2(3), 116-139.

Downloads

Published

17-07-2024

How to Cite

Panyawai, P. S., Sangtong, P. S., Sricompa, R., & Phra Rajakhemakorn. (2024). การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญางานพุทธศิลป์จังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 10(1), 80–95. Retrieved from https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/219

Issue

Section

Research Articles: บทความวิจัย