แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องระดับมัธยมศึกษา พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
Keywords:
หลักสูตรฐานสมรรถนะ, สถานศึกษานำร่อง, พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาAbstract
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 3) ตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) แนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีทั้งหมด 25 ขั้นตอน แบ่งเป็นการเตรียมความพร้อม การจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ 7 ขั้นตอน การร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฐานสมรรถนะ 5 ขั้นตอน การนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ 6 ขั้นตอน และการประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะ 7 ขั้นตอน 3) การตรวจสอบแนวทางการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ มีความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กมลพร ทองนุช และคณะ. (2566). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 6(2), 40-54.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2 ตุลาคม 2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการ. (25 มิถุนายน 2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564-2565.
กษมา ชนวงษ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เกษราภรณ์ สิงห์คะมณี (ผู้บรรยาย). (25-26 ตุลาคม 2564). การวัดและประเมินผลหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงเรียนนำเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. ในการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์. (หน้า 1-2). หอประชุมฟ้าห่มปก : โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2560). การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : วีพรินท์.
ปรเมศร์ แก้วดุก และกาญจนา บุญส่ง. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2), 1428-1441.
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562. (2562, 26 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56ก. หน้า 120.
วิไล ถาวรสุวรรณ และคณะ. (2566). ปลดล๊อคความเปราะบางด้วยหลักพุทธจิตวิทยาภาวะผู้นําในธุรกิจเครือข่าย MLM. มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 9(2), 469-481.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (มปป.) ร่างคู่มือการใช้กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช … สำหรับช่วงชั้นที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ร่าง สมรรถนะหลัก 5 ประการ (Five Core Competencies). กรุงเทพฯ : สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
อมรพรรณ แดงจันทึก. (2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับท้องถิ่นของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อมรพิมล นึกชัยภูมิ. (2563). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.