ขึด : มุมมองบนฐานปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์

Authors

  • Suttikan Sittikul Faculty of Humanity, Chiang Mai University

Keywords:

ขึด, ขนบล้านนา, ฌอง-ปอล ซาร์ตร์, ปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์

Abstract

             “ขึด” เป็นคำล้านนาโบราณซึ่งปรากฏในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย จัดเป็นความเชื่อหนึ่งซึ่งสำคัญและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของชาวล้านนา โดยทั่วไป “ขึด” หมายถึงสิ่งที่ไม่ดี ชั่วร้าย เสนียดจัญไร และความเป็นอัปมงคลต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่ข้อห้ามอันเป็นการป้องกันการละเมิดขึด ความเชื่อเกี่ยวกับ “ขึด” ดังกล่าวนี้ เมื่อพิจารณาสามารถเข้าใจได้ในฐานะ “ภาพ” กระนั้นก็ตาม “ภาพ” ของขึดกลับไม่สามารถตรงกับวัตถุเชิงประจักษ์ใดในโลก เช่นนั้นจึงไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของขึดได้ อย่างไรก็ตามด้วยอาศัยมุมมองปรากฏการณ์วิทยาของ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ ซึ่งได้เน้นความสำคัญของกระบวนการไปที่สิ่งที่เรียกว่า “สำนึก” อันเป็นจุดสำคัญต่อการรับรู้และเข้าใจของมนุษย์อันมีต่อโลก “ภาพ”ของขึด จึงสามารถปรากฏในสำนึกได้ และภาพดังกล่าวนี้เป็นปรากฏการณ์ซึ่งมาจากผัสสะและทั้งมาจากการที่มนุษย์ในการให้ความหมายแก่ภาพนั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาบนกระบวนการเช่นนี้ การรับรู้และเข้าใจความหมายของ “ขึด” จึงมีความเป็นไปได้

References

เกษม เพ็ญภินันท์, คงกฤช ไตรยวงค์, ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์, เทพทวี โชควศิน, ปกรณ์ สิงห์สุริยา, พิพัฒน์ สุยะ, รชฎ สาตราวุธ, เวทิน ชาติกุล, ศิรประภา ชวะนะญาณ, สุภัควดี อมาตยกุล, และสุรัช คมพจน์. (2566). วิธีวิทยาทางปรัชญา. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

กีรติ บุญเจือ. (2522). ชุดปัญหาปรัชญา: ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม (Existentialism). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง องค์ความรู้เรื่อง “ขึดในล้านนา”. (2541). สถาบันราชภัฏลำปาง : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏลำปาง.

คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช (บรรณาธิการ). (2539). ขึด : ข้อห้ามในล้านนา. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2552). ญาณวิทยา (ทฤษฎีความรู้). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สงวน โชติสุขวัฒน์. (มปป). ตําราพิธีส่งขึดและอุบาทว์. เชียงใหม่ : ประเทืองวิทยา.

สุวรัฐ แลสันกลาง. (2541). แนวคิดเชิงปรัชญาเรื่องขึดในล้านนา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

Craig, Edward (Ed.). (2005). The shorter routledge encyclopedia of philosophy. New York: Routledge Taylor & Francis Group.

Davis, Richard B. (1984). Muang Metaphysics: A Study of Northern Thai Myth and Ritual, Bangkok: Pandora.

Hume, David. (1900). An Enquiry Concerning Human Understanding (Reprinted from the Edition of 1777). Chicago: The Open Court Publishing Company.

Locke, John. (1825). An Essay Concerning Human Understanding (25th edition). London: Printed by Thomas Davison, Whitefriars.

Rée, Jonathan. and Urmson, J. O. (2005). The Concise Encyclopedia of Western Philosophy. New York: Routledge Taylor & Francis Group.

Downloads

Published

31-07-2024

How to Cite

Sittikul, S. (2024). ขึด : มุมมองบนฐานปรากฎการณ์วิทยาของชาร์ตร์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่, 10(1), 203–217. Retrieved from https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jgrp/article/view/81

Issue

Section

Academic Article: บทความวิชาการ