พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่

Authors

  • ศักดิ์ชัย นาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
  • สมจิต ขอนวงค์ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูโสภณกิตติบัณฑิต วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้ง, สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธอปริหานิยธรรม 7 กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจจากการแจกแบบสอบถาม จำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 รูป/คน วิเคราะห์คำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า

              1) ระดับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.69)

              2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรม 7 กับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย (r = .233**)

              3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ความไม่พร้อมของหน่วยเลือกตั้ง การประชาสัมพันธ์ยังไม่มีความชัดเจน ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และควรมีการจัดทำคลิปเสมือนการเลือกตั้งจริงให้กับประชาชนได้ศึกษาผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สามลดา.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

พระคำรณ อติภทฺโท (ทองน้อย). (2562). การบริหารจัดการเชิงเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการวรวุฒิ สุเมโธ (มีธรรม). (2563). พฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 5. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2560, มาตรา 133 (3) มาตรา 236, มาตรา 256 (1).

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวรีย์ ศิริโภคารภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. (ลพบุรี : สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้าว. ข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thungnow.go.th/condition.php/ [10 ธันวาคม 2563].

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2545). การเมืองของพลเมือง. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

Downloads

Published

21-05-2024

How to Cite

นาลัย ศักดิ์ชัย, สมจิต ขอนวงค์, and พระครูโสภณกิตติบัณฑิต. 2024. “พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในเขตตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ”. วารสาร มจร โกศัยปริทรรศน์ 2 (3):1-13. https://ojs.mcupr.ac.th/index.php/jmkr/article/view/202.