คำแนะนำสำหรับผู้แต่งบทความ
รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ
- ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ให้หลีกเลี่ยง การเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทย ในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปล หรือคำที่ใช้แล้ว ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะสำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
- ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว และให้ตั้งค่าระยะขอบกระดาษบน 1.5 นิ้ว ล่าง 1 นิ้ว ซ้าย/ขวา 1 นิ้ว พร้อมใส่เลขกำกับทางมุมขวาบนของกระดาษทุกหน้า โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัด เป็นแบบ double space เพื่อสะดวกในการอ่านและการแก้ไข
- ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK เท่านั้น
- ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 20 pt.ตัวหนา
- ชื่อผู้นิพนธ์ใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ
- หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 18 pt. ตัวหนา
- หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา
- บทคัดย่อและเนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวปกติ
- จำนวนหน้า ความยาวของบทความ 8 - 10 หน้า รวมตาราง รูป ภาพ และเอกสารอ้างอิง
ส่วนประกอบของบทความ
- ชื่อเรื่องบทความ ต้องมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางของหน้าแรก
- ชื่อผู้นิพนธ์/ผู้เขียน ต้องมีทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุชื่อสังกัดหน่วยงาน
- การเขียนบทคัดย่อ มีทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 – 350 คำ ต่อบทคัดย่อ
- กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ให้กำหนดคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 3 - 5 คำ
- เนื้อเรื่องของบทความ
5.1 บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระสำคัญ ดังนี้
1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัย โดยให้สรุปสั้นกะทัดรัด และได้ใจความ
2) บทนํา (Introduction) ระบุความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในการวิจัย
3) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) นําเสนอระบุแบบแผนการวิจัย การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
4) ผลการวิจัย (Research Finding) นําเสนอผลการวิจัยที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ความเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ
5) การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) ให้นําเสนอเป็นความเรียงชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด
6) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (Suggestion) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนําผลการวิจัยไปใช้ และนําเสนอประเด็นสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
7) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) เป็นการนําเสนอเพื่อขอขอบคุณหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย ทั้งนี้ ให้ใส่เฉพาะกรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย หรือกรณี ชื่อบทความมีชื่อไม่ตรงกับงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
8) เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการนําเสนอเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงในการเขียนบทความ และต้องเป็นรายการเอกสารอ้างอิงที่ปรากฏในบทความเท่านั้น
5.2 บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับสาระสำคัญ ดังนี้
1) บทคัดย่อ (Abstract)
2) บทนํา (Introduction)
3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนําเสนอตามลำดับ/ระบุองค์ความรู้ใหม่
4) สรุป (Conclusion)
5) เอกสารอ้างอิง (References)
ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ
เอกสารที่นำมาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือสามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้นิพนธ์/ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้อง จะไม่ได้รับการส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา จนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์ และรายการอ้างอิงจะต้องไม่ต่ำกว่า 10 รายการอ้างอิงต่อ 1 บทความ
- การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ
รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม-ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์ กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ โดยรูปแบบของการอ้างอิง มีดังนี้
1.1 การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
1) การอ้างอิงพระไตรปิฎกและอรรถกถา ให้อ้างชื่อคัมภีร์ /เล่มที่/ข้อที่/เลขหน้า มาด้วย ตัวอย่าง เช่น “ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักร 4 ประการนี้ เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบเป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่และความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก” (อง.จตุกฺก. 21/31/37) เป็นต้น
2) ผู้แต่งหนึ่งราย ให้อ้างชื่อผู้แต่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2560) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, 2560, น. 201-205)
3) ผู้แต่งสองราย ให้อ้างชื่อของผู้แต่งทั้งสองรายโดยใช้คำว่า “และ” ในการเชื่อมผู้เขียนทั้งสองแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2560) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วยโดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และเขมณัฏฐ์ อินทรสุวรรณ, 2560, น. 204-207)
4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างชื่อผู้แต่งรายแรกแล้วเพิ่มคำว่า “และคณะ” แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และตามด้วยปีที่พิมพ์ เช่น (ปัญญา สุนันตา และคณะ, 2560) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (ปัญญา สุนันตา และคณะ, 2560, น. 21-22)
5) กรณีเนื้อความเป็นเรื่องเดียวกัน หรือผลการวิจัยเหมือนกัน แต่มีผู้อ้างอิงหลายคน ให้ใช้รายการอ้างอิงที่ใกล้เคียงปีปัจจุบันมากที่สุด
1.2 การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย
1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Sunanta, 2019) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วยโดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (Sunanta, 2019, p. 21) แต่ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองหน้าขึ้นไป ให้อ้างอิงดังนี้ ตัวอย่างเช่น (Sunanta, 2019, pp. 21-22)
2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสองราย โดยใช้เครื่องหมายแอนด์ (&) คั่นกลางระหว่างนามสกุลของผู้แต่งทั้งสอง แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Sunanta & Sukjeen, 2019) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (Sunanta & Sukjeen, 2019, p. 21) แต่ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองหน้าขึ้นไป ให้อ้างอิงดังนี้ ตัวอย่างเช่น (Sunanta & Sukjeen, 2019, pp. 21-22)
3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 ราย ให้อ้างนามสกุลผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al.ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) และปีที่พิมพ์ เช่น (Sunanta et al., 2019) ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหาโดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรงควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยให้พิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์คั่นด้วยเครื่องหมาย (,) เช่น (Sunanta et al., 2019, p. 21) แต่ถ้ามีการอ้างอิงมากกว่าสองหน้าขึ้นไป ให้อ้างอิงดังนี้ ตัวอย่างเช่น (Sunanta et al., 2019, pp. 21-22)
- การอ้างอิงท้ายบทความ
2.1 พระไตรปิฎก อรรถกถา
รูปแบบ :
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อพระไตรปิฎกอรรถกถา. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2.2 หนังสือ
รูปแบบ :
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้น). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง :
จํานง อดิวัฒนสิทธิ. (2544). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2.3 บทความในหนังสือ
รูปแบบ :
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ). ชื่อเรื่อง. (เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง :
พระสุกิจจ์ สุจิณฺโณ. (2559). การสร้างความคิดนามธรรมในวัฒนธรรมไทย. ใน ปวิตร ว่องวีระ. ทฤษฎี และวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. (หน้า 112). กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์.
2.4 บทความจากวารสาร
รูปแบบ :
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.
ตัวอย่าง :
พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ. (2557). การกำหนดประเด็นปัญหาการตั้งชื่อเรืองและการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยทางสังคมศาสตร์. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 3(1), 14 - 15.
2.5 บทความในสารานุกรม
รูปแบบ :
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อสารานุกรม (เล่มที่อ้าง, หน้า เลขหน้าที่อ้าง). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.
ตัวอย่าง :
สนม ครุฑเมือง. (2530). หม้อคอควาย. ใน สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีตเขตหัวเมืองฝ่ายเหนือ (หน้า 274-275). กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พลับลิซซิ่ง.
2.6 หนังสือพิมพ์
รูปแบบ :
ผู้แต่ง. (วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์) ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, เลขหน้า.
ตัวอย่าง :
สุชาติ เผือกสกนธ์. (9 มิถุนายน 2549). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ผู้จัดการรายวัน, น. 13.
2.7 สารนิพนธ์, วิทยานิพนธ์, ดุษฎีนิพนธ์, รายงานการวิจัย
รูปแบบ :
ผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สถานที่พิมพ์ : ชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา.
ตัวอย่าง :
ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2550). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2.8 สัมภาษณ์
รูปแบบ :
ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์. (วัน เดือน ปี ที่สัมภาษณ์). ชื่อเรื่องที่สัมภาษณ์. (ชื่อผู้สัมภาษณ์)
ตัวอย่าง :
วรพล ไม้สน (พลังวัชร). (5 พฤศจิกายน 2559). หลักการ วิธีการ เป้าหมายในการปรึกษาทางโหราศาสตร์. (นางณฐณัช แก้วผลึก, สัมภาษณ์)
2.9 สื่อออนไลน์
รูปแบบ :
ผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อเรื่อง. เรียกใช้เมื่อ/ จาก แหล่งที่มาของข้อมูล (URL)
ตัวอย่าง :
ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล. (2561). พระพุทธศาสนาเถรวาท จะสืบทอดดำรงอยู่อย่างไร? เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก https://www.dailynews.co.th/article/666936
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). เลื่อนข้าราชการให้ดำรงตําแหน่งประเภททั่วไประดับชํานาญการ คำสั่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ 593/2562. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก http://www.onab.go.th/category/news/คำสั่ง-ประกาศ
2.10 ราชกิจจานุเบกษา
รูปแบบ :
ชื่อกฎหมาย. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (ถ้ามี). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่/ตอนที่/หน้า/(วัน เดือน ปี).
ตัวอย่าง :
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก หน้า 49 (1 พฤษภาคม).
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 97 ง หน้า 1 (20 มิถุนายน 2555).