อนุปุพพิกถากับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา
Keywords:
อนุปุพพิกถา, การบรรลุธรรม, พระพุทธศาสนาAbstract
บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนได้กล่าวอธิบายถึงเรื่องอนุปุพพิกถากับการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา อนุปุพพิกถา เป็นพระธรรมเทศนาที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้แสดงไปตามลำดับจากง่ายไปหายาก เพื่อฟอก และขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟัง ให้สะอาดหมดจด และประณีตลึกซึ้งขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก จนจิตของผู้ฟังสงบมีจิตอ่อน ปราศจากนิวรณ์ จิตเบิกบานจิตผ่องใสแล้ว และมีความเข้าใจในธรรมของพระพุทธเจ้า อนุปุพพิกถาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงประกอบด้วย ทานกถา สีลกถา สคฺคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา ภายหลังจากพระพุทธเจ้าแสดงอนุปุพพิกถาแล้ว ถ้าหากผู้ฟังสามารถชำระกิเลสของตนให้เบาบางลงได้ตามที่ทรงแสดงแล้วต่อไปก็จะแสดง อริยสัจ 4 จนทำให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมชั้นใดชั้นหนึ่ง
อนุปุพพิกถา 5 และอริยสัจ 4 คือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมากที่สุด จึงเรียกว่า “พหุลานุศาสนี” การแสดงธรรมอนุปพพิกถาเป็นขัดเกลาจิตใจของผู้ฟังไปโดยลำดับแต่เวลาแสดงจริง ๆนั้นไม่จำเป็นต้องแสดงครบทั้งหมด 5 ข้อ ผู้ฟังสามารถจะเรียนรู้ประพฤติปฏิบัติได้ในระดับใดก็จะทรงแสดงในระดับนั้น พระธรรมเทศนาเรื่องอนุปุพพิกถานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ยสกุลบุตร บุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี เป็นครั้งแรก จนยสกุลบุตรได้บรรลุธรรม และขออุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา
References
กรมศิลปกร. (2550). คัมภีร์มิลินทปัญหาไทย-บาลี. กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด.
จุฑาภัค หริรักษ์ธำรง. (2560). รูปแบบการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จากัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์ ผลิธัมม์ ในเครือ บริษัท สานักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส) (2548). บรมธรรม (ภาคปลาย). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ตถตา พับลิเคชั่น จำกัด.
พระธรรมวิสุทธิกวี. (2546). อนุปุพพิกถาทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. (2537). ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุใลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร :
สุเชาว์ พลายชุม. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามงกฎราชวิทยาลัย.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.