วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้ง ผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
Keywords:
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม, เชิงพุทธ, การเลือกตั้ง, ผู้บริหารท้องถิ่นAbstract
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)จำนวน 400 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOWA) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตามหลักอปริหานิยธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.83) ส่วนวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=3.99) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุและอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ การศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน 3. การส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นเทศบาลตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า 1) ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ควรมีการหมั่นประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม ควรมีการเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน 3) ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่สมควรบัญญัติ ไม่ตั้งกฎระเบียบของสังคมที่ขัดต่อกฎหมาย 4) ด้านการเคารพนับถือผู้ใหญ่ ควรให้เกียรติผู้นำในการทำกิจกรรมต่าง ๆ 5) ด้านการให้เกียรติต่อสตรี ควรเปิดโอกาสให้สตรีเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานอย่างเสมอภาค 6) ด้านการสักการะเคารพสถานที่ปฏิบัติงาน ไม่ทำลายทรัพย์สินของทางราชการหรือก่อความวุ่นวายในชุมชน 7) ด้านการให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่ประธานขณะปฏิบัติงาน ควรช่วยกันปกป้องคุ้มครองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นและสถานที่สำคัญของชุมชน
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2565). ระบบศูนย์ข้อมูลเลือกตั้งผู้บริหารสมาชิกสภาท้องถิ่นและทะเบียน อปท. เรียกใช้เมื่อ 1 ธันวาคม 2565 จาก https://ele.dla.go.th/public/score.do;jsessionid.
บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2539. (2539). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52ง หน้า 176 (25 ธันวาคม).
เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ. (2561). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(ฉบับพิเศษ), 218-225.
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50 หน้า 265-266 (16 เมษายน).
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และวิเชียร ตันศิริคงคล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการที่ได้รับคะแนนเสียงการเลือกตั้งของผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย (รายงานวิจัย). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 7,20 (6 เมษายน).
วัฒนา เซ่งไพเราะ. (2555). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในสถาบันการศึกษาเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยช่วงปี พ.ศ. 2549-2554 (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกริก.
วิกิพีเดีย, สารานุกรมเสรี. (2565). เรียกใช้เมื่อ 31 สิงหาคม 2565 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki.
วิจิตร เกิดน้อย และคณะ. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9(2), 129-139.
เวธิกา แดงเรือง. (2560). การบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบัติ เจนสระคู. (2561). การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารตามหลักอปริหานิยธรรม 7 โรงเรียนการกุศลของวัดทางพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สวาท ฮาดภักดี. (2563). การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตําบลโคกสี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต).พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสาวนีย์ วิยะบุญและคณะ (2562). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อใช้การจัดการสภาองค์กรชุมชนเข้มแข็งใน จังหวัดระยอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(4), 124-135.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae Campus
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.